การวัดกำลังไฟฟ้า
AC (1 เฟส, 3 เฟส)
การวัดกำลังไฟฟ้า AC 1 เฟส
ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส (Single phase)
ระบบไฟฟ้า 1
เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจํานวณ 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไลน์
เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกสายนิวตรอล
เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral)
รูปแสดงระบบไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส
ลักษณะการเกิดไฟฟ้ากระแสสลับ คือ ขดลวดชุดเดียวหมุนตัดเส้นแรงแม่เหล็ก
เกิดแรงดันกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไหลไปยังวงจร ภายนอก โดยผ่านวงแหวน
และแปลงถ่านดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าเมื่อออกแรงหมุนลวดตัวนำได้ 1 รอบ
จะได้กระแสไฟฟ้าชุดเดียวเท่านั้น ถ้าต้องการให้ได้ปริมาณกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
ก็ต้องใช้ลวดวนำหลายชุดไว้บนแกนที่หมุน
ดังนั้นในการออกแบบขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับถ้าหากออกแบบดขดลวดบนแกนให้เพิ่มขึ้นอีก 1 ชุด
แล้วจะได้กำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
การวัดกำลังในวงจรกระแสสลับ 1 เฟส
วิธีวัดกำลังในวงจร
1 เฟส แบ่งได้เป็น
1. ใช้วัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์
2. ใช้วัตต์มิเตอร์แบบเหนี่ยวนำ
3. ใช้วัตต์มิเตอร์แบบไฟฟ้าสถิต
4. ใช้เครื่องวัดแบบเทอร์โมคัปเปิล
5. ใช้ออสซิลโลสโคป
6. ใช้โวลต์มิเตอร์ 3 เครื่อง
7. ใช้แอมมิเตอร์ 3 เครื่อง
วิธีใช้วัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์
การต่อวัตต์มิเตอร์แบบอิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์
มีหลักการคือ ต้องพิจารณาทิศทางของกระแสไฟฟ้าชั่วขณะในขวดลวดแต่ละตัว
เพราะขดลวดดังกล่าวทำหน้าที่กำหนดทิศทาง ของฟลักส์
ภาพแสดงวงจรภายในวัตต์มิเตอร์อิเล็กโทรไดนาโมมิเตอร์
ภาพแสดงการต่อวัตต์มิเตอร์ในระบบไฟฟ้า 1 เฟส
ถ้าต่อวัตต์มิเตอร์เข้ากับวงจรไฟฟ้าที่มีโหลด โดยกระแสไฟฟ้าที่โหลด
ไหลผ่าน Current coil และแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อม
Potential coil วัตต์มิเตอร์จะอ่านค่ากำลังไฟฟ้าที่โหลดได้
การต่อวัตต์มิเตอร์แบบนี้ต้องให้กระแสไฟฟ้าที่โหลดเข้าที่ขั้วบวกของ Current coil ส่วนขั้วบวกของ Potential coil จะต่อไว้กับตำแหน่งที่แสดงในรูป
จะทำให้ Potential coil มีแรงดันไฟฟ้าที่ปลายทั้งสองข้างแตกต่างกัน
ทำให้เข็มของวัตต์มิเตอร์เคลื่อนตัวไปทางขวา หรืออ่านค่าเป็นบวก แต่ถ้าขั้ว Potential coil หรือ Current coil ผิดตำแหน่งจะทำให้เข็มเคลื่อนตัวไปทาง
ซ้ายและอ่านค่าเป็นลบ
วิธีใช้วัตต์มิเตอร์แบบเหนี่ยวนำ
การทำงานของวัตต์มิเตอร์แบบเหนี่ยวนำ
เป็นแบบแรงบิด โดยแรงบิดจะเกิดขึ้น โดยปฏิกิริยาร่วมของกระแสวนที่ถูกเหี่ยวนำในจานอะลูมิเนียมบาง
โดยสนามแม่เหล็กที่ป้อนแก่จาน แรงบิดเฉลี่ยนที่กำเนิดขึ้นในจาน
จะเป็นสัดส่วนกับกำลังเฉลี่ย และจะถูกต้านโดยสปริง
รูปแสดงโครงสร้างของวัตต์ฮาวร์มิเตอร์ 1 เฟส แบบเหนี่ยวนําไฟฟ้า
วิธีใช้วัตต์มิเตอร์แบบไฟฟ้าสถิต
รูปแสดงวัตต์มิเตอร์แบบไฟฟ้าสถิต
วิธีใช้วัตต์มิเตอร์แบบเทอร์โมคัปเปิล
เครื่องวัดชนิดนี้จะประกอบด้วยอุปกรณ์
3 ชิ้น คือ ลวดความร้อน (Heater) เทอร์โมคัปเปิลและ
เครื่องวัดไฟฟ้าแบบขดลวดเคลื่อนที่
(PMMC)
รูปแสดงวัตต์มิเตอร์แบบเทอร์โมคัปเปิล
เมื่อต่อเครื่องวัดใช้งาน กระแสไฟฟ้า
จะไหลผ่านลวดความร้อน ทําให้เทอร์โมคัปเปิลได้รับความร้อน
ส่งผลให้เกิดความต่างศักย์ที่ปลายของโลหะทั้งสอง และเกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังมิเตอร์ชนิดขดลวดเคลื่อนที่
ทําให้เข็มชี้ของเครื่องวัดบ่ายเบนซึ่งจะบ่ายเบนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความร้อนที่เทอร์โมคัปเปิลได้รับ
โดยค่าความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นสัดส่วนกับค่ากําลังสองของกระแสไฟฟ้า (I2)
ข้อดี
ของเครื่องวัดแบบเทอร์โมคัปเปิลคือ
1. สามารถวัดความผิดพลาดได้ตํ่าประมาณ 1 %
2. ใช้วัดความถี่ได้สูงถึง 50 MHz โดยไม่จำกัดรูปร่างของสัญญาณ
ข้อควรระวัง เกี่ยวกับการใช้เครื่องวัดแบบเทอร์โมคัปเปิล
คือในการวัดอย่าให้เกินค่า Over Load
เพราะจะทําให้ลวดความร้อนขาดเสียหายได้
วิธีใช้ออสซิลโลสโคป
เราอาจนำออสซิลโลสโคปมาใช้วัดกำลังสูญเสียโหลดในวงจรกระแสสลับ
โดยการวัดแรงดันตกคร่อมโหลดโดยตรง จากนั้นวัดกระแสผ่านโหลดโดยอ้อม
โดยใช้โพรบกระแสหรือโดยการวัดแรงดันคร่อมตัวต้านทานค่าน้อยๆ ที่ต่ออนุกรมกับโหลด
สำหรับคลื่นไฟสลับรูปซายน์ จะต้องคำนวณค่าประสิทธิผลมาใช้ความแตกต่างเฟสระหว่างแรงดันและกระแสจะสามารถวัดได้
โดยการใช้ออสซิลโลสโคปแบบเส้นคู่ (Dual Trace)
การวัดกำลังไฟฟ้า AC 3 เฟส
รูปแสดงความสัมพันธ์เฟสระหว่างรูปคลื่นของแรงดันบนสาย
line 1, line 2, line 3 ของตัวกำเนิด 3 เฟส
รูปคลื่นทั้งสามจากรูป
มาจากแหล่งกำเนิดแรงดัน 3 ตัว ซึ่งจะเห็นได้ว่า
แหล่งกำเนิดแรงดันทั้งสามเป็นชนิด AC และมีเฟสต่างกัน 120
องศา ขณะที่ E1, E2,
E3 เป็นค่าประสิทธิผลของแหล่งกำเนิด
ซึ่งกำเนิดสัญญาณรูปซายน์ที่มีค่าที่ขณะใด ๆ คือ
ea = Ep
sin wt
eb = Ep
sin(wt - 120)
ec = Ep
sin(wt - 240)
ซึ่งถ้าเราหาแรงเคลื่อนไฟฟ้าลัพธ์ที่ขณะใด
ๆ
จะได้ ea + eb + ec = 0
ในวงจรสามเฟสจะประกอบไปด้วย
VL = แรงดันระหว่างสาย คือ VAB,
VBC และ VCA
Vph = แรงดันเฟส คือ
แรงดันระหว่างสายใดสายหนึ่งกับนิวตรอล คือ VA, VB, VC
IL = กระแสในสาย
Iph = กระแสในเฟส
ปลายด้านโหลดของระบบ 3 เฟส
จะใช้การต่อโหลดแบบ 3 เฟส ซึ่งสามารถต่อได้ 2 ลักษณะ
1. ต่อแบบสตาร์หรือวาย (Star or Wye)
2. ต่อแบบเดลตา (Delta)
การวัดกำลังในวงจรกระแสสลับ 3 เฟส
วิธีวัดกำลังในวงจร
3 เฟสแบ่งได้เป็น 3 วิธี ได้แก่
1. ใช้วัตต์มิเตอร์ 3 เครื่อง
2. ใช้วัตต์มิเตอร์ 2 เครื่อง
3. ใช้วัตต์มิเตอร์ 1 เครื่อง
วิธีใช้วัตต์มิเตอร์
2 เครื่อง
เนื่องจากทฤษฎีของ Brondel
กล่าวว่า “เมื่อป้อนแรงดันแก่เครือข่ายโดยผ่านสายตัวนำจำนวณ
N ถ้าเลือกตัวนำเส้นหนึ่งเป็นจุดร่วม
เราจะสามารถลดจำนวณวัตต์มิเตอร์เหลือเพียง N-1 เครื่องในการวัดกำลังทั้งหมดที่สูญเสียในเครือข่ายนั้น”
เป็นการต่อวัตต์มิเตอร์
1 เฟส 2 เครื่องเข้าในวงจรระบบ 3 เฟสโดนการต่อวัตต์มิเตอร์แต่ละตัวต่ออนุกรมกับสายไฟ
(line)ของโหลด
สําหรับขดลวดแรงดันให้ต่อขนานกับโหลดโดยให้ปลายที่เหลือของขดลวดแรงดันต่อรวมกันกับสายไฟ
(line) ที่เหลือ
จะเห็นได้ว่า
ในการต่อวัตต์มิเตอร์กำลังแบบใช้มิเตอร์ 2 เครื่อง
วัตต์มิเตอร์แต่ละตัวจะไม่ได้อ่านค่ากำลังเฟสใดเฟสหนึ่ง ดังนั้นในการเริ่มแรก ต้องต่อวัตต์มิเตอร์เข้ากับเฟสมีลักษณะสมมาตร
โดยการต่อในลักษณะที่กระแสที่ไหลจากแหล่งกำเนิดจะเข้าสู่วัตต์มิเตอร์โดยผ่านปลาย “±”
การต่อแบบนี้จะเป็นการอ้างอิงสำหรับหาค่าเครื่องหมายของการอ่านวัตติมิเตอร์
วิธีใช้วัตต์มิเตอร์
1
เครื่อง
แบ่งเป็น
2 ชนิด
1. การวัดกําลังไฟฟ้าระบบ 3 เฟสด้วยวัตต์มิเตอร์ 1
เฟส 1 ตัว
การวัดกําลังไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ ใช้วัตต์มิเตอร์ 1
เฟสเพียงตัวเดียววัดกําลังไฟฟ้าของ ระบบ 3 เฟสโดยใช้สวิทช์สองทางช่วย
เป็นวิธีประหยัดและค่าที่ได้ก็ถูกต้องเช่นเดียวกันกับกรณีที่ใช้วัตต์มิเตอร์ 2
ตัว
เมื่อเลื่อนสวิทช์ไปยังตําแหน่ง
1 จะอ่านค่าได้ค่าหนึ่งและเมื่อเลื่อน
สวิทช์ไปยังตําแหน่ง 2 จะอ่านค่าได้อีกค่าหนึ่ง
แล้วนําค่าที่อ่านได้ทั้งสองครั้งมารวมกัน ก็จะได้ค่ากําลังไฟฟ้าของวงจร
แต่วิธีนี้ไม่นิยมใช้เหมือนกับวิธีที่ 2 การใช้วัตต์มิเตอร์ 1
ตัววัดกําลังไฟฟ้าวิธีนี้เหมาะสําหรับกรณีที่โหลดแบบสมดุลเท่านั้น
ข้อเสีย มีขีดจำกัดกว่ากระณีใช้วัตต์มิเตอร์สองเครื่อง
เพราะว่ามันบังคับใช้ได้เฉพาะกรณีโหลดสมดุลจริงๆเท่านั้น
2. การวัดกําลังไฟฟ้าระบบ 3 เฟสด้วยวัตต์มิเตอร์ 3
เฟส 1 ตัว
วิธีนี้การต่อวงจรเหมือนกับวิธีวัดกําลังไฟฟ้าระบบ 3
เฟสด้วยวัตต์มิเตอร์ 2 ตัว ซึ่งวัตต์มิเตอร์3 เฟส ปกติจะประกอบ ด้วยวัตต์มิเตอร์ 1
เฟส 2 ตัว สําหรับขดลวดเคลื่อนที่จะยึดติดกับแกนหมุนเดียวกัน
แรงบิดที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับผลบวกทางพีชคณิตของแรงบิดจากวัตต์มิเตอร์แต่ละตัว
เมื่อเข็มชี้ไปหยุดอยู่ ณ ตําแหน่งใดให้อ่านค่าโดยตรงได้เลย
รูปแสดงวัตต์มิเตอร์ 3 เฟส และการต่อวัตต์มิเตอร์ 3 เฟส สำหรับการวัด
ข้อควรระวังในการต่อวัตติมิเตอร์
การต่อใช้งานวัตต์มิเตอร์
ต้องระมัด ระวังในการต่อโดยต้องไม่ให้กระแสผ่านเข้าขดลวดคงที่หรือขดลวด
กระแสมากเกิน กว่าพิกัดของวัตต์มิเตอร์ที่บอกไว้
และต้องไม่ให้แรงดันที่ป้อนเข้าขดลวดเคลื่อนที่ หรือขดลวด
แรงดันเกินกว่าพิกัดของวัตต์มิเตอร์
ดังนั้นก่อนการต่อวัตต์มิเตอร์เข้าวงจร
จึงควรตรวจสอบทั้ง แรงดัน และกระแสของวงจรก่อนเสมอ
เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของวัตต์มิเตอร์ วัตต์มิเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมา ใช้งาน
จริงและสัญลักษณ์
Reference
http://edltv.vec.go.th/courses/32/10110040.pdf
http://www.patai.th.edu/webst/jah/J_p/jah/index1.htm
203.172.130.178/courses/32/10110046p.ppt
http://www.vias.org/matsch_capmag/matsch_caps_magnetics_chap6_12_03.html
http://202.129.59.73/tn/motor10-52/motor19.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Three-phase
รศ.ดร.เอก
ไวยสวัสดิ์. 2547. การวัดเครื่องวัดไฟฟ้า. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
(ไทย-ญี่ปุ่น)
ได้ความรู้มากเลยครับ ภาพประกอบคำอธิบาย ครบถ้วน ถ้าสนใจวัตต์มิเตอร์แบบ digital เว็ปไซด์นี้เลยครับ
ตอบลบhttp://www.qmax100.com/product/41/digital-lcd-panel-watt-meter-ac-80-270v